กองทุนการออมแห่งชาติ 2558” ที่รัฐบาลกำลังจะเปิดรับสมัครสมาชิก ในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 หวังจะให้เป็นกองทุนที่ดูแลคนไทยในวัยเกษียณ ว่าแต่กองทุนการออมแห่งชาติ คืออะไร ใครบ้างที่สามารถเข้าร่วมกองทุนนี้ได้ และเงื่อนไขของกองทุนนี้จะเป็นอย่างไร เข้ามามุงกันได้เลยก๊าบบ

>>  กองทุนการออมแห่งชาติ คืออะไร

กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นกองทุนการออมเพื่อวัยสูงอายุที่ให้สิทธิ์ประชาชนสัญชาติไทยเข้าเป็นสมาชิกระบบบัญชีรายบุคคล โดยกองทุนเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบการออมเพื่อการชราภาพที่ครอบคลุมภาคแรงงานทุกประเภทได้อย่างทั่วถึง ซึ่งยังมีแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่ได้รับความคุ้มครองเพื่อการชราภาพ และแรงงานเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจนในวัยสูงอายุ เพราะไม่มีช่องทางให้เข้าถึงเครื่องมือการออมเงินในขณะที่อยู่ในวัยทำงาน

ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นช่องทางการออมขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของบำนาญ อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ

>>   จุดประสงค์ของการก่อตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ

กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระหรืออยู่นอกระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐ หรือกองทุนเอกชนที่มีนายจ้างจ่ายสมทบแล้วซึ่งคาดว่ามีอยู่กว่า 30 ล้านคน ได้ออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณโดยรัฐจะช่วยจ่ายสมทบให้ส่วนหนึ่ง และเมื่อผู้ออมมีอายุครบ 60 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนตลอดชีพ ถือเป็นการสร้างหลักประกันให้กับชีวิตในยามที่ไม่มีรายได้ประจำ และเป็นส่วนหนึ่งของการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
>> คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
1. เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย
2. อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์  (เฉพาะในหนึ่งปีแรกที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ อนุญาตให้ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกได้ และกำหนดให้ผู้สมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ออมกับกองทุนได้ 10 ปีนับจากวันที่เป็นสมาชิก ซึ่งจะทำให้ได้รับเงินสมทบจากรัฐอย่างเต็มที่ เช่น หากอายุ 55 ปี สมัครกองทุนในปีนี้ สามารถออมได้ 10 ปี จนถึงอายุ 65 ปี)
3. ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญภาครัฐหรือเอกชน และไม่อยู่ในกองทุนตามกฎหมายอื่นที่ได้รับเงินสมทบจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น, กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น

>> กองทุนการออมแห่งชาติ 2558 สมัครเข้าเป็นสมาชิกได้อย่างไร

ผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนตามที่เงื่อนไขระบุไว้ สามารถสมัครสมาชิกและส่งเงินสะสมได้ที่ธนาคารออมสิน ธกส. และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา โดยในวันที่ 18 สิงหาคม 2558 จะเป็นวันแรกที่เปิดรับสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ใช้หลักฐานเพียงบัตรประชาชนอย่างเดียวเท่านั้น

 >> รัฐบาลจะสมทบเงินให้เท่าใด อย่างไร

เมื่อสมาชิกส่งเงินสะสม รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบให้ภายในสิ้นเดือนถัดไป โดยเงินสมทบที่จ่ายจะจ่ายเป็นสัดส่วนของเงินสะสมแต่ละงวดนั้นๆ และสัมพันธ์กับอายุของสมาชิกในขณะที่ส่งเงินสะสมนั้น ทั้งนี้ ได้กำหนดเพดานการสมทบเงินสูงสุดในแต่ละปีไว้ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดเป็นภาระทางการคลังของ ประเทศมากจนเกินไป ดังนี้

–  15-30 ปี รัฐจ่ายให้ 50% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 600 บาทต่อปี

–  อายุ 30-50 ปี รัฐจ่ายให้ 80% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 960 บาทต่อปี

–  อายุมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปีรัฐจะสมทบจ่ายให้ 100% ของเงินสะสม แต่ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี

580724_กองทุนการออมแห่งชาติ

>> ผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ

เมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือใน 4 กรณี ดังนี้

1.จะได้รับเงินบำนาญจากเงินสะสม เงินสมทบและดอกผลจากเงินสะสม เงินสมทบ ตามจำนวนเงินในบัญชีของผู้ออมแต่ละคนไปจนตลอดอายุขัยเป็นลักษณะของบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต

2.หากสมาชิกทุพพลภาพก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ สมาชิกจะขอรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงิน สะสมทั้งหมดหรือบางส่วนจากกองทุนก็ได้ โดยให้ขอรับได้เพียงครั้งเดียว ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจะจ่ายเป็นบำนาญให้สมาชิกเมื่ออายุครบ 60 ปี ซึ่งในกรณีที่สมาชิกคงเงินไว้ในกองทุนทั้งหมดหรือบางส่วน จะนำเงินที่คงไว้นี้มาคำนวณจ่ายบำนาญด้วย

3.กรณีสมาชิกลาออกจากกองทุน ให้สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม จากกองทุน ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบให้ตกเป็นของกองทุน

4.กรณีสมาชิกเสียชีวิต กองทุนจะจ่ายเงินที่มีอยู่ในบัญชีของสมาชิกผู้ตายให้แก่บุคคลที่สมาชิกผู้ตายได้ แสดงเจตนาไว้ต่อกองทุน หรือหากมิได้แสดงเจตนาไว้จะจ่ายให้แก่ทายาท

ทั้งนี้ สิทธิการรับเงินทั้งปวงตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัว ไม่อาจโอนแก่กันได้

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://www.fpo.go.th/FPO/member_profile/it-admin/upload/file/010458_22.pdf