สวัสดีครับเป็นอีกครั้งหนึ่งแล้วที่ ทำงานที่นี่ แต่คราวนี้ไม่มีรูปนะครับ เนื่องจากไม่มีเวลาไปถ่ายเลยไม่แบกกล้องไปดีกว่า

วันนี้ก็ออกเดินทางเหมือนเดิมมาถึง Ahmedabad ก็แปลกตาไปนิดหน่อย ตม. ที่นี่เค้าพัฒนาแล้ว ทาสีใหม่แอร์เย็นเฉียบขาดมาก ระบบก็เร็วกว่าเดิม (เร็วกว่า ตม. ไทย ซัก หนึ่งนาที) เพราะใช้ระบบ รูดปรืดๆ ยกเว้นว่า จะเป็น passport เก่าๆ ต้องคีย์เข้าระบบก็นานหน่อย แต่เอาเป็นว่า เร็วกว่าเดิม

มาพอถึงตรงเครื่อง CTX สมัยเพราะเจ้าเหา ตอนวางกระเป๋า สายพานมันไม่วิ่งซะงั้นอะ เซ็งเลย แล้วเจ้าหน้าที่ก็พยายามจะทำให้มันวิ่งให้ได้ด้วยนะ ไอ้เราก็รอไปสิ จนคนมองที่ต้องหน้าจอ ทนไม่ไหว เดินมาหิ้วกระเป๋าไปใส่เครื่องเอง (หึๆๆ) เราก็โอ้ โล่งใจ พอกระเป๋าออกมาจากเครื่องแล้ว ไอ้สายพานมันก็แพดเสียงดังครื่น ดังมาก (ในใจก็ซวยแล้ว จะโดนเก็บค่าซ่อมมั๊ยเนี๊ยะ รีบรับกระเป๋าแล้วออกทันที คราวนี้ไม่ต้องผ่านด่าน ชายแก่อีกหนึ่งคน ที่จะมาคอยเก็บบัตร

วันนี้ได้นั่ง TATA จากสนามบินมาโรงแรม แต่ไม่ใช่นาโน เพราะว่ามันใหญ่กว่า Jazz อีกและระหว่างทางยังคงบีบแตรสนั่นหวั่นไหว มันพะยะค่ะ ถึงโรงแรม ก็หาทุ่มได้ นั่งตรวจสอบโปรแกรม อาบน้ำแล้วนอน

สวัสดีครับผม

ปล ผมไปทุกสี่เดือน เห็นตม. ที่นั่นมีการเปลี่ยนแปลงตลอด(ในทางที่ดีขึ้น) อยากเห็นบ้านเราเป็นแบบนี้จัง อะไรๆก็ไม่เปลี่ยนซะที

Namaska
สวัสดีครับ วันนี้เป็นวันที่แรก ที่เห็นแสงอาทิตย์ ที่ Ahmedabad, เมื่อคืนกว่าจะผ่านช่วงเวลาเดินทางมาราธอน กว่า 8 ชั่วโมง ว่าจะถึงโรงแรมก็ ห้าทุ่ม เศษๆ (GMT+5.5) ทำจัดการข้าวของและนั่งเช็คอีเมล์กว่าร้อยฉบับ!!! ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอ่านไปหมดแล้วหละแต่ว่า ไม่ได้มาร์กเอาไว้ เวลาใครมาเห็นจะเสียจริตเป็นอย่างมาก หาว่าไม่อ่านเมล์ ซะงั้นไป
โม้มายืดยาวความจริงแล้วไม่มีอะไรมากหรอกครับ แค่จะบอกว่าคราวนี้ได้ห้องมุมเกือบดี รวมกับ ตื่นเช้า ทำให้ได้รูปพระอาทิตย์ใบแดงกลมโต แต่กล้องผม จับมาได้เท่านี้ ใครอยากเห็นใบโตๆ ผมก็รับบริจากกล้อง และเลนส์อันใหม่ เพื่อเอามาถ่ายให้มันใหญ่หึ่มไปเลย ว่าแล้ว ก็ขอลาไปทำงานพร้อมกับ รูปพระอาทิตย์ยามเช้าที่ Ahmedabad นะครับ

dscf9979.jpg
ฟ้าขมุกขมัวเล็กน้อย ในตอนเช้าตรู่
 dscf9983.jpg
ก้อนเมฆปุกปุยรับแสงตะวันยามเช้า
dscf9999.jpg
เน้นชัดๆอีกที กับดวงอาทิตย์กลมโต

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับ Hello Ahmedabad ทั้งสี่ตอน หวังว่าคงจะชอบกันนะครับ ผมว่าทริปนี้นอกจากไปทำงานแล้วยังได้ประสบการณ์แปลกใหม่ เปิดกะลาที่ครอบตัวผมไว้เอาไว้ด้วย (กะลาคงต้องใหญ่มากมาย ต้องมีคนคิดแบบนี้แน่ๆ ตีลูกกันไว้ก่อนเลย) ข้อมูลที่นำมาเขียนส่วนใหญ่ก็จะจำมาจากการเล่าเรื่องของเพื่อนใหม่ ณ อัมดาบัด ซึ่งมาดูกันดีกว่าว่าใครเป็นใคร

Namaska, after I left from Ahmedabad last Saturday, I had written the article about The Experience In Ahmedabad,

Although all stories are in Thai language but I still believed that

“One picture is Worth a Thousand Words”

Now this is the last chapter to credit and thanks the guy who supports behind the scene of this series,

Christopher Yeo, Akshaya Nath, Bhaven Shah
Virendra Sharma, Navin Patel
Ramchadra, Deepak Darbar, Govind Patel

untitled-2.jpg

…Shukriyaa…

All Hello Ahmedabad Series —————
Hello Ahmedabad – Chapter I
Hello Ahmedabad – Indian Food
Hello Ahmedabad – City I
Hello Ahmedabad – City II

กลับมาชมเมืองกันต่อ เนื่องจาก ตอนนี้รูปแยะ พอสมควรผม เลยของทำรูปบางรูปเป็นรูปเล็กนะครับ ถ้าอยากดูรูปใหญ่ ให้คลิ๊กไปที่รูป ได้เลยทันที มาดูกันเลยดีกว่า

ถนนที่ลอดลงอุโมงค์ (สั่งเกตดี จะเห็นว่า รูปกับสี่ของกำแพง ทำจาก หินกระเบื้องเล็กๆ มาต่อกันเป็นรูป สุดยอดมาก)

dscf9162.jpg

จากซ้ายไปขวานะครับ –  ภาพ รปภ ประจำร้านอาหาร, รถเมล์ (ไม่ค่อยน่าขึ้นเลย), ไฟจราจรและป้ายตามทางแยกต่างๆ (ซึ่งมีบ้างไม่มีบ้าง), แยกวัดใจ อยากไปก็ต้องลองลุยดู, ไม่ว่าจะรถประเภทไหนชิดขวาได้ บีบแตรใส่กันได้ (เคยเห็น มอเตอร์ไซต์ บีบแตร ไล่หกล้อมั๊ยครับ มาที่นี่เห็นแน่นอน เป็นเรื่องปกติ)
dscf9042.jpg dscf9244.jpg dscf9161.jpg  dscf9249.jpg dscf9242.jpg

หลังจากชมบ้านเรือน จากมุมมองกลางถนนแล้ว ก็มาถึงจุดหมายแล้วครับ Sabarmati Ashram : Gandhi Memorial Museum (ด้านล่างเป็นรูปเหมือนของ มหาตมะ คานธี ครับ)

dscf9191.jpg

จากซ้ายไปขวา – ป้ายทางเข้าครับ, เราจะเจอเจ้าตัวน่ารักเยอะมากครับ วิ่งกันให้ควัก แต่ผมถ่ายมาตัวเดียวพอ, คำพูดของท่าน มหาตมะ คานธี, บรรยากาศร่มรื่นที่มองเห็น แม่น้ำ Sabarmati, หุ่นจำลอง ภายในภิพิธภัณฑ์ แสดงถึงเหตุการณ์สำคัญ (Salt March to Dandi) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยที่ที่ Sabarmati Ashram แห่งนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นการเดินขบวน มุ่งสู่ Dandi ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 240 ไมล์ (1ไมล์ ประมาณ 1.6 กิโลเมตร) โดยใช้ระยะเวลา 23 วัน

dscf9239.jpg dscf9213.jpg dscf9167.jpg untitled-1.jpg dscf9184.jpg

เดินถ่ายรูปภายใน Sabarmati Ashram ซักพัก ก็มีเด็กที่วิ่งเล่นอยู่แถวๆนั่นมาขอให้ถ่ายรูปด้วยครับ โชคดีไป จริงๆแล้วอยากถ่ายมาแต่ไม่กล้า ได้สักพักนึง แต่เอามาให้ดูสองรูปพอ

dscf9228.jpg

dscf9229.jpg

ถ่ายไปๆ ก็คิดว่า เด็กพวกนี้สู้กล้องน่าดู มีบางรูปถ่ายแล้วมืดไป พอตอนให้ดูมีการบอกว่าขอแสงอีกหน่อยด้วย (อืมให้มันได้แบบนี้)  และด้วยความร้อน (ถึงแม้ว่าภายในจะร่มรื่นผมก็ยังแอบร้อนนิดๆ ประจวบกับได้เวลาที่ต้องกลับเข้าออฟฟิต เพื่อรอเวลา กลับโรงแรม (เพราะเช็คเอาไปแล้ว แต่รอรถโรงแรมส่งกลับไปสนามบินตอนห้าทุ่ม) อืมใกล้เวลาแล้วสินะที่ต้องจาก Ahmedabad แอบอยากอยู่ต่อเล็กๆแต่ว่า อยากกลับบ้านเหมือนกัน

ปลแรก สำหรับเรื่อง สาวๆในเมือง Ahmedabad ที่มีเมล์มาถามถึงในตอนนี้คงต้องขอข้ามไปครับเนื่องจากเพื่อนที่นี่บอกไว้ว่า ไม่ควรถ่ายรูปผู้หญิงที่นี่เนื่องจากเหตุผลทางศาสนาบางอย่าง แต่บอกได้เลยว่า อัตราส่วนผู้หญิงที่นี้กับผู้ชายอยู๋ที่ 20 80 ซึ่งน้อยมาก (อ้างอิงจากเพื่อนที่นี่อีกคนหนึ่ง)

ปลท้าย ตอนหน้าจะเป็นตอนสุดท้ายของ Hello Ahmedabad แล้วครับโปรดติดตาม และจะพาไปพบกับเพื่อนใหม่ที่พาไปชิมอาหาร เล่าเรื่องราว และรับรองเราเป็นอย่างดีครับผม

ตอนที่ผ่านมา —————
Hello Ahmedabad – ภาค 1
Hello Ahmedabad – Indian Food
Hello Ahmedabad – ชมเมือง 1

สวัสดีครับ,

แหมไม่ได้พูดคำนี้มาหลายวัน ใช่แล้่ว ตอนนี้ผมอยู่เมืองไทยแล้วครับ วันที่กลับมาก็สลบเหมือด เข้าเรื่องเลยดีกว่า หลังจากที่เขียนเรื่องอาหารของอินเดียไปแล้ว ก็มีเมล์มาแซวเรื่องน้ำหนักตัวด้วยนะ เลยว่าจะเขียนเรื่องน้ำหนักตัวซะหน่อย เอ้ย ไม่ใช่ วันนี้มาเขียน ชมเมืองซะหน่อยดีกว่า

สภาพอากาศที่อินเดียตอนที่ผมมานี้ก็เป็นช่วงลมมรสุม ของอินเดียแต่ก็ไม่มีผลกระทบอะไรนัก อากาศภายนอกร้อนกว่า บ้านเราเยอะ (แต่อีกหน่อยบ้านเราคงร้อนเท่าอัมดาบัด ถ้ายังตัดต้นไม้กันอยู่) ฝุ่นจะค่อนข้างเยอะครับ เพราะว่ามีการก่อสร้างอยู่พอสมควรแถมบริเวณสองข้างทาง ไม่มีต้นหญ้า คอยคลุมเอาไว้ (จิตนาการไปถึง ถนนเส้นพระประแดงเข้าไว้ครับ แต่ว่าไม่ถึงขนาดนั้น)

ส่วนเรื่องบนท้องถนน ไม่ต้องพูดถึงครับ จักรยาน สามล้อ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ รถประจำทาง วัว แล้วก็ อูฐ ???
dscf9160.jpg

หลังจากทำงานมา สามวันเต็ม (ออฟฟิตที่นี่เข้า สิบโมง เลิก หนึ่งทุ่มครับ) ในวันที่จะกลับ ได้ไปแวะห้างฯ ที่เปิดใหม่ครับเค้าบอกว่าใหญ่ที่สุดใน อัมดาบัด เลยที่เดียวเชียว ตอนกลางคืนจะสวยกว่านี้มากๆๆ (อารมณ์ central world)
dscf9155.jpg

ภาพด้านในห้างฯครับ ยังสร้างไม่ค่อยเสร็จดี เท่าไหร่นัก
dscf9152.jpg

หลังจากเดินไปซักพัก ก็เริ่มหิว เลยหาอะไรกินเล็กน้อย ที่นี่ครับ แม็คโดนอล (แต่ไม่มีซามูไรเบอร์เกอร์ อะ เซ็งเลย)
dscf9157.jpg

ซึ่งตอนแรกเราเข้าผิดทางครับ โชคดีที่ยังไม่มีคนใช้บริการไม่งั้น คงฮาน่าดู (อ้อเราใช้ Drive Thru ครับ) คนขายก็ยังไม่ขายให้เลยต้องไปกลับรถที่ทางเข้าแล้วเข้าไปใหม่ ราคาไม่ต่างจากเมืองไทยเท่าไรนัก
หลังจากอิ่มแล้ว เราก็ออกชมเมืองต่อครับ แต่ตอนนี้ผมขอตัวไป เคลียร์ข้าวของ ก่อนนะครับ พรุ่งนี้เย็นๆ จะกลับมาพาชมสถานที่ ที่น่าสนใจ (ที่ผมได้ไป มา) ปิดท้ายด้วย สามล้อเมืองแขกครับผม
dscf9158.jpg

ตอนเก่าๆ ————–
Hello Ahmedabad – ภาค 1
Hello Ahmedabad – Indian Food

Namaska!

หลังจากปล่อยภาคแรกออกไป ก็มีเมล์มาถามว่า “ไม่เห็นพูดถึงอาหารกับกลิ่นอินเดีย บ้างเหรอ น่าประหลาดใจมากๆ” ภาคสองเลยต้องจัดให้ เป็นอาหารล้วนๆ แต่บอกก่อนว่า ไม่ครบตามที่เจ้าบ้านพาไปลองนะครับ เพราะ บางช็อตก็ลืม รู้ตัวอีกทีหมดแล้ว (ก่อนมา หลายๆ คนห่วงเรื่องอาหารการกิน และหวังว่าจะผอมกลับไป บางคนถึงกับรอ เลี้ยงฉลองวันกลับ ขนาดนั้น)

มั่วแต่ โม้อยู่ได้ว่าแล้วเข้าเรื่องเลยดีกว่า เชิญชม

dscf8996.jpg

ที่เห็นเป็นขอบพิซซ่า (ไม่ใช่ของผมคนเดียวนะ) เอามาเรียงเป็น ชื่อแผนกหน่อย MI, Market Intelligence เห็นแบบนี้ไม่ใช่พิซซ่าทั่วไปนะครับ แบบว่าส่วนประกอบมาจากวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหารอินเดียล้วนๆ เลย แปลกไปอีกแบบ ดูต่อเลยดีกว่า เป็นไอติม หลังพิซซ่า นั่นเอง

dscf8998.jpg

ต่อๆๆ เริ่มเข้าของจริงแล้วคับ

bhel.jpg

Bhel (เบล) เป็นของกินเล่นครับ แต่กินเยอะมันก็อิ่มได้นะ รสชาติ เปรี้ยวมาก เผ็ดนิดๆ เวลากินจะต้องใส่ ซอสมะเขือเทศด้วย แต่ว่าผมไม่ชอบอะ ขาวๆ ที่เห็นก็เป็นชีส นั่นเอง กินไปได้ครึ่งเดียว จอดแล้วครับ กินน้อยอร่อยดี กินเยอะๆ ไม่ไหวความเปรี้ยวในร่างกายจะขึ้นสูงมาก

masala-papad.jpg

Masala Papad (มาซาล่า ปาปาด) อันนี้ก็ออกรสจัดและเผ็ดร้าย (spicy) , ตั้งเองอีกแล้ว, ถ้าเผ็ดร้อน (Hot) จะเกิดจากพริก ที่บอกเผ็ดร้ายก้อคือมันเผ็ดแบบฉุนๆ อะครับถ้าจิตนการไม่ออกให้ เอา หัวหอมแดง และหัวหอมใหม่ มาสับแล้วตักกิน ก็จะได้ภาพชัดเจนขึ้น ตัวแป้งด้านล่าง จะคล้ายๆกับ มันฝรั่งทอดกรอบ (แต่จริงๆแล้วเป็นแป้งชนิดนึงรสชาติเค็มๆ ซึ่งไม่รู้เรียกว่าอะไร) โดยรวม กินเล่นๆได้ (เพราะมันเป็น ออร์เดิร์ฟ) กินจริงๆ น้ำหูน้ำตาไหล

green-veg-with-chutney.jpg

ของกินเล่น รายการต่อมา คือ Green Veg ก้อนสี่น้ำตาลแต่ถ้าดูข้างในจะเป็นสีเขียว ชื่อก้อบอกแล้วว่าทำจาก ผักแน่นอน แต่ว่ารสชาติกินแล้วไม่รู้เลยว่า มีผักอะไรอยู่บ้าง ส่วน ซอสสีเขียวๆ ที่เป็น เรียกว่า Chutney (ชั่นนี่) รสชาติออกเปรี้ยวๆ เข้ากับ เจ้าก้อน Green Veg ได้ดี ทำให้ไม่เลียนเกินไป (แต่จริงๆแล้วมันเลี่ยน) แถมหัวหอมใหญ่อีกนิดหน่อยก็อร่อยไปอีกแบบ (ข้อแนะนำ ไม่ควรกินต่อก้อนที่สองเพราะจะทำให้กินอะไรไม่ลงอีกแน่นอน)

เข้ารายการหลักดีกว่า เริ่มด้วยนี่เลย โรตี และ นาน ที่หลายคน ฝากเอากลับไป แต่คงเป็นไม่ได้ เพราะมันคงเน่าพอดี ดูรูปไปละกันนะ

dscf9036.jpg

ต่อไป นาน (Naan) ใช้แป้งแบบเดียวกับขนมปัง แต่ว่าไม่หมัก เอาไปแปะโอ่ง แล้วมาทอดกับเนยอีกที (อุดมสมบรูณ์ไปด้วย คอเรสเตอรอล)

dscf9035.jpg

เขียวๆ ที่เห็นเรียกว่า Tawa VEG กับสีออกส้มๆ คือ Chicken Handi ไม่รู้ว่ามันทำมายังไงแต่ว่า สองอันนี่รสชาติก็จะคล้ายๆ ผสมกันกินก็เข้ากันได้ดีรสชาติ นึกถึงแพนงที่รสชาติจืดหน่อย แล้วก็ข้นๆ ก็พอจะทำให้จินตนาการออกได้บ้าง

หมดเมนูหลัก ก็มาถึงคราวของหวานแล้วคราวนี้ไม่ใช่ไอศครีม แต่เป็น Rasgulla (ราสกูลล่า) หน้าตาจะเป็นแบบนี้

rasgulla.jpg

รสชาติพอกินเข้าไปปุ๊บ มันหวานแบบหวานจริงๆเลย มันคือขนมปังที่ไปแช่น้ำเชื่อมนี่เอง (โอ้ หวานโคตร) ใครอยากลองชิม มีตัวแทนที่ให้รสชาติเหมือนกันคือ ขนมปังฟาร์มเฮาส์ ชุบ นมข้นหวานตรามะลิ แล้วเอาช้อนกวนๆๆๆ จะได้รสชาติเหมือนกัน ยังกับฝาแฝดเลยทีเดียวเชียว (ปล. ไม่ได้ค่าโฆษณาจาก ฟาร์มเฮาส์แล้วก็นมตรามะลินะ จะบอกให้)

หลังจากกินเสร็จเรียบร้อย แบบใช้ช้อนและไม่ใช้ช้อน (ถ้าเป็นคนอินเดียจริงจะใช้แค่มือเดียว และสามนิ้วเท่านั้น แต่เราตัวปลอม ใช้ไปสองมือ แปดนิ้ว เหอๆ ถ้าสั่งเกตุรูป มันเบลอๆเพราะว่ามือเลอะ ไม่ค่อยกล้าจับกล้องมานั่นเอง) หลังจากเสร็จเค้าจะมี น้ำอุ่นใส่มะนาวมาให้ล้างมือ เพื่อดับกลิ่นเครื่องเทศต่างๆ (แต่มันติดข้ามวันอะ) เค้าจะมีคล้ายๆ ขนมๆ ให้เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปากด้วย เรียกว่า Sauf (ซอฟ) หน้าตาเป็นแบบนี้

sauf.jpg

วันที่สาม เรารู้ตัวกันก่อนว่า ตอนเย็นจะเจอศึกหนัก (เลี้ยงส่ง) เลยกินอะไรแบบเบาโดยการซื้อเข้ามากินในออฟฟิต หน้าตาก็ประมาณนี้นะ จำชื่อไม่ได้สองอย่าง (ข้าวกับอะไรไม่รู้ รู้แต่ว่ามีถั่วลันเตา)

dscf9047.jpg

คุ้นๆว่ามี Papad (ซ้ายสุด), Roti (ซ้ายบน), Corn Soup (ขวาบน), Paneer Pasand (ขวา)

หมดแล้วอ้าว มื้อเย็นหละ แบบไม่ได้เอากล้องไป แต่ว่า อาหารที่ไปกินเป็นอาหารอินเดียทางตอนเหนือ ซึ่งก้อมีทั้งโรตี ปาปาด แล้วเนื้อไก่ เนื้อปลา เนื้อแกะ ย่าง พร้อมกับ ชีสทอด หอมทอด แล้วก็อะไรซักอย่างรสชาติเหมือนแพนง โดยรวมแล้วอร่อยมากมาย (อีกแล้ว) ที่สำคัญฟรีอีกแล้วครับท่าน ชื่อร้าน Curry (ความอร่อยวัดได้จากคนที่มารอครับ โชคดีที่เราจองไว้ไม่งั้น อด แถวยาวขนาด MK ในวันหยุด)

หลังจากนั้นเจ้าภาพเราก็พาไปกินไอติม handmade ต่อ ชื่อร้าน JAYSINGH’S โดยไอศรีมที่นี่เค้าจะใช้นมใส่ถังเหล็กแล้วเอาถังไปใส่ไว้ในถังไม้ที่มีน้ำแข็งแล้วก็เขย่าๆ ไปเรื่อยจนมันกลายเป็นเกร็ดน้ำแข็ง รสชาติจะเข้มข้นมากๆ ออกกลิ่นโยเกิตนิดๆ แล้วก็มี อัลมอล กับถั่วอีกสองสามอย่าง ซึ่งจำไม่ได้แล้วว่ามีอะไรบ้าง ยังคุยกับคริสว่า น่าจะเอามาขายที่เมืองไทย อย่างน้อยก็ย่านพาหุรัด และ ย่านอโศก (แถวๆสถานฑูตอินเดีย) คงจะมีคนกินแน่ๆ

โม้มาเกือบหมด (ที่จริงมีเยอะว่านี้ แต่จำบ่อได้แล้ว ไว้คราวหน้ามาเก็บตก) ลืมพูดถึงอาหารในโรงแรม (มื้อเช้า) ไปได้ยังไงกัน คือแบบว่า ก็มี โอมเล็ต ซุปถั่ว ขนมปัง กาแฟ และอื่นๆ ที่กินไม่เป็น นอกจากนั้นๆ ซ้ำๆกันทุกวัน

ส่วนตอนเย็นยกเว้นวันเลี้ยงส่ง งดครับผม ดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว

อ้อพูดถึงน้ำ ที่นี่ถ้าจะดื่มน้ำต้องเป็นน้ำจาก ขวดที่แพ็คมาอย่างดีเท่านั่นนะครับ ไม่งั้นโอกาสท้องเสียจะมีสูง (เนื่องจากเราไม่คุ้น ด้วย) และควรดื่มน้ำมากๆหน่อย เพราะอากาศจะร้อนกว่ากรุงเทพพอควร แถมฝุ่นเยอะด้วย (ตอนแรกจะสั่ง Coke Zero ไม่มีขายนะครับ แต่มี Seven Up มะนาวขายแทน แปลกดี)

ปล งานนี้ไม่ใช่ผมไปเสาะหามานะครับ มีแม้ช้อยประจำทริป ไว้คราวต่อๆไปจะมาแนะนำ ตอนนี้ ผมก็ขอจบภาค อาหารการกินแต่เพียงเท่านี้ครับผม

Namaskar,

ความจริงมาอยู่ที่ Ahmedabad (อเมดาบัด หรือ อัมดาบัด) ได้สามวันแล้ว (วันนี้เป็นวันที่สี่และพรุ่งนี้จะกลับ -_-‘) แต่บังเอิญห้องไฮโซดันไม่มีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งาน (ลดความหรูลงแต่มีอินเตอร์เน็ตน่าจะดีกว่านะ เหอๆ) แต่จริงแล้วมันมีนะ แต่ชั่วโมงนึงประมาณ 500 รูปีได้ ก้อราว สี่ร้อยกว่าบาทไทย (โอ้พระเจ้าจอร์จ) ก้อเรยต้องอดทน นั่งดูทีวีและอ่านหนังสือพิมพ์แทน

บ่นซะยืดยาวเข้าเรื่องดีกว่า

ทริปนี้ก็ออกเดินทางจาก สนามบินสุวรรณภูมิ (แต่จริงๆแล้ว ตอนเช้าเข้าไปทำงานที่ออฟฟิตด้วย) โดย สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, (SQ) , ขอบคุณพี่นกที่เป็นธุระจองให้, วันที่ 18 ที่ผ่านมาคราวนี้ไม่ตื่นสนามบินเพราะมาเป็นครั้งที่สองแถมมี “คริส” (หัวหน้า) มาด้วย

มาการครั้งนี้คริสบอกว่าให้จัดของใส่กระเป๋าใบเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อจะได้ไม่ต้องโหลดไปใต้เครื่องบิน เพราะจากประสบการณ์บอกว่า ไม่ควรทำอย่างแรง ถ้าไม่อยากเปลี่ยนกระเป๋าใหม่ ฟังครั้งแรกก็คิดว่าเอาจริงดิ เหอ น่ากลัวชะมัด พอวันเดินทาง ด็อกเตอร์จอร์จ (หัวหน้าคริสอีกที) ก็มาบอกว่าไหนขอดูกระเป๋าหน่อยซิ ไอ้เราก็เริ่มคิดว่า เออมันน่ากลัวขนาดนั้นเหรอ แต่ไม่เป็นไร กระเป๋าก็ไม่ได้ใหญ่โตอยู่แล้ว (มีคนแซวว่า กระเป๋าใบเล็กกว่าตัวเยอะเลย ซะงั้นไป)

ทางไปขึ้นเครื่องถ่ายด้วยมือถือ Nokia 6630 (ไม่ได้ค่าโฆษณานะ)

18092007.jpg

พอถึงฤกษ์งามยามดี สิบโมงเช้าก็นั่งแท็กที่มาสนามบิน รวมค่าทางด่วนแล้ว ก็ 320 บาทพอดิบพอดี (ต้องเขียนไว้ก่อนจะลืม เด๋วกลับไปเบิก 55) ตัดฉากแว็บกลับมาที่สนามบิน ก็เอา E-Ticket ไปแลกตั๋วเครื่องบิน มาและก็เดินเข้า ต.ม. ทันที (ไม่ได้ถ่ายรูปอีกเช่นเคย เพราะขี้เกียจ ไม่มีโอกาสเท่าที่ควร) นั่งไปซักพัก ตัดฉากไปตอนอยู่บนเครื่องบินเลยดีกว่า โชคดีมากที่เครื่องไม่เต็ม และเครื่องมีของเล่นเยอะกว่า TG พอสมควร (ขาไปมั่วแต่เล่น ไม่ได้ถ่ายรูปอีกเช่นเคย ไว้ขากลับละกัน) ได้ดูหนังไปสองเรื่อง และเล่นเกมด้วย เนื่องจาก SQ ไม่มีเที่ยวบินจากไทยไปอัมดาบัด โดยตรงเลยต้องไปแวะที่ Changi Airport (สนามบินชางกี) ที่สิงคโปรก่อน คราวนี้เพิ่งจะรู้วามี XBox ให้เล่นฟรี ด้วยแต่ว่าเกมส์เปิดอยู่ 555 เล่นไม่เป็น เลยไปนั่งเล่น เดินเล่น เพื่อรอเวลาไปต่อแทน

รูปบริเวณที่นั่งรอเปลี่ยนเครื่อง ที่สนามบินชางกี (แบบไม่ค่อยตั้งใจถ่าย)

dscf8982.JPG

แว็บ ถึง อัมดาบัดแล้ว มีรถบัสเปิดหน้าต่างมารับจากเครื่องไป ต.ม. ใช้เวลาในการผ่าน ประมาณ ยี่สิบนาทีเท่านั้น เนื่องจาก Visa ของ อินเดียเปลี่ยนไปใช้ระบบ รูดปรื๊ดๆ แทนการพิมพ์ข้อมูลซ้ำอีกครั้ง ผ่าน ต.ม. มาได้ก็มี รถจาก โรงแรม The Pride, Ahmedabad มารับทันที่

เรื่องเร้าใจมันอยู่ที่ว่า คงไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่า India เป็น City of Horn เพราะว่า การบีบแตร เป็นเรื่องปกติมากๆ เพราะเค้าจะมาหมายถึงว่า “I’m comming, give me the way” หรือ “ตรูมาแล้ว ขอทางหน่อย” คนที่นี่เค้าจะไม่โกรธกัน หรือบางทีไม่สนใจด้วยซ้ำ แต่ว่า ส่วนใหญ่จะหลีกทางให้ มีเหตุการณ์หวาดเสียวนิดหน่อยคือ รถที่ผมนั่ง ไปคลิ๊ก กับสามล้อ (ที่นี่เรียกว่าอะไรลืมไปแล้ว ไว้ไปหามาให้) ผมนึกว่า คงจะเรื่องยาวแล้วครับ แต่ว่า เค้าก็หันหน้าไปมองกัน (แต่ว่ารถยังคงวิ่งอยู่) แล้วก็ขับต่อ เออ แปลกดี ส่วนตัวแล้วผมว่า ก้อดีไปอย่างนะไม่ต้องมาจอดรถเคลียร์กันให้รถติด คิดเหมือนว่าเดินชนกันแล้วขอโทษก็จบกันไป

ถึงโรงแรมซะที ประมาณ สี่สิบนาทีจากสนามบิน ก็ขึ้นห้องพัก เพราะว่ามันสี่ทุ่มกว่าเกือบห้าทุ่มแล้ว (เมืองไทยก็ประมาณ เที่ยงคืนกว่าๆ (เวลาที่นี่ช้ากว่าเมืองไทย ชั่วโมงครึ่งครับ หรือ GMT +5.5 นั่นเอง เผื่อบางคนที่อาจจะยังไม่รู้ เมืองไทย จะ GMT +7 สิงคโปร์ GMT+8) ว่าแล้วก็มาดูห้องดีกว่า

แต๊นแตน…

panorama1.jpg

รูปนี้ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ เพราะว่าแสงไม่ดีนัก เห็นสองเตียงแต่ว่านอนคนเดียวนะ (เค้ามีความเชื่อกันว่าไม่ดี แก้เคล็ดโดยการเอาของไปวางไว้อีกเตียงที่ไม่ได้นอนแทน อืม ไม่รู้ไปจำมาจากไหนเหมือนกัน)

ห้องนอนอีกมุมนึง (ถ่ายอีกวันนึง เค้าเปลี่ยนข้างที่ปูทีนอนให้อะ ไม่รู้ทำไม)

dscf9018.jpg

และก็มีนี่ด้วย Good Night Card (ตั้งเอง)

dscf9008.jpg

อาจจะกระชากอารมณ์คนที่กำลังอ่านเพลินๆ แต่คิดว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อนดีกว่า แอบใช้เวลางานมาอัพบล็อกพอสมควรและ (เมื่อวาน กลับไปทำงานที่โรงแรมต่อนา… เจ๊าๆกันไป) ไว้มีโอกาสจะมาเล่าต่อภาค สองและสามนะครับ

ปล. Namaska หรือ Namaste’ เป็นคำที่ใช้ทั้งทักทายผมเดาว่าอาจคล้ายๆกับคำว่า นมัสการ (แต่ว่าไทยเราใช้กับสมณะ เท่านั่น)